เป้าหมายในการทำกายภาพบำบัด
เป้าหมายในการทำกายภาพบำบัด
ผู้ป่วยที่มีปัญหาหรือป่วยเป็นโรคอื่นอันส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย ควรเข้ารับการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพการเคลื่อนไหวให้ดีขึ้น ทั้งนี้ การทำกายภาพบำบัดมีวัตถุประสงค์ในการรักษาผู้ป่วย ดังนี้
ฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายหลังได้รับบาดเจ็บ ผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุหรือได้รับบาดเจ็บจากสาเหตุต่าง ๆ จะได้รับการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูอาการบาดเจ็บ รวมทั้งรู้จักเลี่ยงไม่ให้ตัวเองได้รับบาดเจ็บอีก โดยนักกายภาพบำบัดจะทำกายภาพบำบัดให้ผู้ป่วย ตั้งแต่ช่วยบรรเทาอาการบาดเจ็บที่เนื้อเยื่ออ่อน (กล้ามเนื้อ เอ็น และกล้ามเนื้อเอ็น) เสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อ และเพิ่มความยืดหยุ่น การทำงาน และพิสัยการเคลื่อนไหว ทั้งนี้ นักกายภาพบำบัดจะประเมินว่าผู้ป่วยควรเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างไร รวมทั้งแนะนำวิธีที่ช่วยให้เกิดการบาดเจ็บน้อยที่สุด
รักษาปัญหาสุขภาพเรื้อรังและปัญหาสุขภาพของเด็ก ผู้ป่วยโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal Stenosis) ข้ออักเสบ หรือโรคพาร์กินสัน (Parkinson's Disease) ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ
สามารถเข้ารับการทำกายภาพบำบัดเพื่อให้อาการของโรคดีขึ้น โดยนักกายภาพบำบัดจะคิดแผนการทำกายภาพบำบัดที่เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งประกอบไปด้วยพิสัยการเคลื่อนไหว การเสริมสร้างความแข็งแรง และการออกกำลังสร้างความทนทานร่างกาย ส่วนเด็กที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น สมองพิการ (Cerebral Palsy) จะได้รับการทำกายภาพบำบัดด้วย โดยนักกายภายบำบัดจะช่วยรักษาพิสัยการเคลื่อนไหว ความแข็งแรง ความทนทาน และการเคลื่อนไหวของร่างกาย รวมทั้งพิจารณาการเจริญเติบโตและความจำเป็นทางพัฒนาการของเด็กร่วมด้วย
เสริมสร้างสุขภาพให้แก่ผู้ที่จำเป็นต้องรับการฟื้นฟูร่างกาย ผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพอันส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกายหลายระบบ เช่น โรคหลอดเลือดในสมอง ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลัง และป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจหรือปอด โรคเรื้อรัง สามารถเกิดภาวะพิการตามมาได้ จึงจำเป็นต้องเข้ารับการทำกายภาพบำบัด ซึ่งจะมีบุคลากรหลายรายร่วมกันช่วยฟื้นฟูผู้ป่วย ได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักบำบัดการพูด และนักจิตวิทยา
ผู้ป่วยที่มีปัญหาหรือป่วยเป็นโรคอื่นอันส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย ควรเข้ารับการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพการเคลื่อนไหวให้ดีขึ้น ทั้งนี้ การทำกายภาพบำบัดมีวัตถุประสงค์ในการรักษาผู้ป่วย ดังนี้
ฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายหลังได้รับบาดเจ็บ ผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุหรือได้รับบาดเจ็บจากสาเหตุต่าง ๆ จะได้รับการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูอาการบาดเจ็บ รวมทั้งรู้จักเลี่ยงไม่ให้ตัวเองได้รับบาดเจ็บอีก โดยนักกายภาพบำบัดจะทำกายภาพบำบัดให้ผู้ป่วย ตั้งแต่ช่วยบรรเทาอาการบาดเจ็บที่เนื้อเยื่ออ่อน (กล้ามเนื้อ เอ็น และกล้ามเนื้อเอ็น) เสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อ และเพิ่มความยืดหยุ่น การทำงาน และพิสัยการเคลื่อนไหว ทั้งนี้ นักกายภาพบำบัดจะประเมินว่าผู้ป่วยควรเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างไร รวมทั้งแนะนำวิธีที่ช่วยให้เกิดการบาดเจ็บน้อยที่สุด
รักษาปัญหาสุขภาพเรื้อรังและปัญหาสุขภาพของเด็ก ผู้ป่วยโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal Stenosis) ข้ออักเสบ หรือโรคพาร์กินสัน (Parkinson's Disease) ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ
สามารถเข้ารับการทำกายภาพบำบัดเพื่อให้อาการของโรคดีขึ้น โดยนักกายภาพบำบัดจะคิดแผนการทำกายภาพบำบัดที่เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งประกอบไปด้วยพิสัยการเคลื่อนไหว การเสริมสร้างความแข็งแรง และการออกกำลังสร้างความทนทานร่างกาย ส่วนเด็กที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น สมองพิการ (Cerebral Palsy) จะได้รับการทำกายภาพบำบัดด้วย โดยนักกายภายบำบัดจะช่วยรักษาพิสัยการเคลื่อนไหว ความแข็งแรง ความทนทาน และการเคลื่อนไหวของร่างกาย รวมทั้งพิจารณาการเจริญเติบโตและความจำเป็นทางพัฒนาการของเด็กร่วมด้วย
เสริมสร้างสุขภาพให้แก่ผู้ที่จำเป็นต้องรับการฟื้นฟูร่างกาย ผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพอันส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกายหลายระบบ เช่น โรคหลอดเลือดในสมอง ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลัง และป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจหรือปอด โรคเรื้อรัง สามารถเกิดภาวะพิการตามมาได้ จึงจำเป็นต้องเข้ารับการทำกายภาพบำบัด ซึ่งจะมีบุคลากรหลายรายร่วมกันช่วยฟื้นฟูผู้ป่วย ได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักบำบัดการพูด และนักจิตวิทยา
นักกายภาพบำบัดมีบทบาทสำคัญในการทำกายภาพบำบัดให้แก่ผู้ป่วย โดยจะช่วยระบุพิสัยการเคลื่อนไหว ความแข็งแรง ความทนทาน ความปลอดภัย และการเคลื่อนไหวร่างกาย (เดิน ขึ้นลงบันได ลุกขึ้นยืนจากเตียงหรือเก้าอี้) ทั้งนี้ นักกายภาพบำบัดจะช่วยแนะนำและสอนให้ผู้ป่วยใช้อุปกรณ์เสริมที่ช่วยเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้อง เช่น อุปกรณ์ช่วยเดิน (Walker) หรือเก้าอี้รถเข็นวีลแชร์ (Wheelchair)
Post a Comment